Social Icons

>>> บ้านของคุณครู ภาษาไทย ( นู๋ฮุส นู๋ยัง นู๋มีนี นู๋ซา นู๋วีรา )

วันอังคารที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2557

จัดทำโดย



สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับ
เข้าสู่ : บ้านสำนวนสุภาษิตไทย


จัดทำโดย

1.  ชื่อ นางสาว            ฮุสนา จานะ                 รหัสนักศึกษา 405401002
2.  ชื่อ นางสาว            มาเรียม ดาโอ๊ะ             รหัสนักศึกษา 405401004
3.  ชื่อ นางสาว            นุรีซา อูเซ็ง                  รหัสนักศึกษา 405401006
 4.  ชื่อ นางสาว            กัสมีณี ยาลา                 รหัสนักศึกษา  405401010
5.  ชื่อ นางสาว            โนรยีฮัน  ดอเลาะ         รหัสนักศึกษา 405401029

นักศึกษา ชั้นปีที่
3
สาขาวิชา ภาษาไทย ค
..
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา



สำนวนไทย





คุณรู้หรือไม่ค่ะ...
ว่าที่มาสุภาษิต สำนวน หรือคำพังเพย
         ที่คุณใช้กัน มาจากไหน           
คุณรู้หรือไม่... 
       ที่คุณพูดเปรียบเปรยกัน         
    บางคำยังใช้ผิดอยู่       
             พบกับเนื้อหาสนุกพร้อมภาพประกอบ           
  ที่จะทำให้คุณรัก
ภาษาไทยมากขึ้น



 
สำนวนไทย
ความหมายของสำนวน
สำนวน คือ คำพูดเป็นขั้นเชิง ไม่ตรงไม่ตรงมา แต่ใช้มีความหมายในคำพูดนั้นๆ

สำนวน หมายถึง สำนวน หรือถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นเป็น โวหาร บางทีก็ใช้ว่า สำนวนโวหาร คำพูดของมนุษย์เราไม่ว่าจะชาติใดหรือภาษาใด แยกออกได้กว้างๆ เป็น ๒ อย่าง อย่างหนึ่งพูดตรงไปตรงมาตามภาษาธรรมดา พอพูดออกมาก็เข้าใจกันได้ทันที อีกอย่างหนึ่งพูดเป็นชั้นเชิงไม่ตรงไปตรงมา แต่ให้มีความหมายในคำพูดนั้นๆ ผู้ฟังอาจเข้าใจความหมายทันที หรืออาจจะไม่เข้าใจความหมายโดยทันที ต้องคิดจึงจะเข้าใจ หรือบางทีคิดแล้วเข้าใจอย่างอื่นก็ได้ หรือไม่เข้าใจเลยก็ได้ คำพูดเป็นชั้นเชิงนี้ เราเรียกกันว่า สำนวน คือ คำพูดเป็นสำนวน ชาวบ้านจะเรียกว่า พูดสำบัดสำนวน

สำนวน คือโวหาร ถ้อยคำที่เป็นข้อความพิเศษ คือ มีขั้นเชิงของความหมายให้ขบคิด

สำนวน หมายถึง ถ้อยคำที่มิได้มีความหมายตรงไปตรงมาตามตัวอักษร หรือแปลตามรากศัพท์ แต่เป็นถ้อยคำที่มีความหมาย เป็นอย่างอื่น คือ เป็นชั้นเชิงชวนให้คิด ซึ่งอาจเป็นไปในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ค่านิยม และอื่นๆ ซึ่งล้วนแต่แสดงให้เห็นถึงความเป็นไทยอย่างเด่นชัด

สำนวน หมายถึง ถ้อยคำในภาษาไทยที่ใช้ในการพูดจาสื่อสารกัน โดยมีความหมายเป็นนัย ไม่แปลความหมายของคำตรงตัว มักจะแปลความหมายในเชิงอุปมาเปรียบเทียบ

สำนวน คือ หมู่คำที่ไพเราะคมคาย เป็นคำพูดสั้น ๆ แต่มีความหมายกว้างขวางลึกซึ้งชวนให้คิด เป็นถ้อยคำที่เรียบเรียง,โวหาร,บางที่ใช้คำว่าสำนวนโวหาร, เป็นถ้อยคำที่ไม่ถูกไวยากรณ์แต่ใช้เป็นภาษาที่ถูกต้อง การแสดงถ้อยคำออกมาจะเป็นข้อความพิเศษเฉพาะของแต่ละภาษา แต่ทุกถ้อยคำก็ไพเราะ


สาเหตุที่เกิดสำนวน
1.ต้องการคำเพื่อสื่อสารความรู้สึกให้เข้าใจ เมื่อเกิดความต้องการคำให้เพียงพอกับความรู้สึก จึงต้องคิดคำใหม่อาจอิงคำเดิม แต่เปลี่ยนความหมายไปบ้าง หรือคล้าย ความหมายเดิม

2. หลีกเลี่ยงการใช้คำบางคำ ซึ่งถ้าใช้แล้วอาจหยาบคาย หรือก่อให้เกิดความไม่สบายใจ ตัวอย่าง คำว่า ตาย อาจมีหลายสำนวน เช่น ซี้ ม่องเท่ง เสร็จ เสียชีวิต ถึงแก่กรรม ไปค้าถ่าน ไปนรก หรือ ถ่ายปัสสาวะ อาจใช้ เบา ไปยิงกระต่าย ไปเก็บดอกไม้

3. เพื่อให้สุภาพ หรือเหมาะสมกับฐานะของบุคคล เช่น ตัดผม ทรงเครื่อง หรือทรงพระเครื่องใหญ่

4. ต้องการให้คำพูดมีรสชาติ หรือ เกิดภาพ ตัวอย่างเช่น กุ้งแห้งเดินมาแล้ว (อาจหมายถึงคนผอมแห้ง)
ความสำคัญของการใช้สำนวน
ปัจจุบัน สังคมมีการเปลี่ยนแปลงไป การใช้สำนวนก็ลดน้อยลง จึงทำให้สำนวนบางสำนวนสูญหายไป ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เราควรจะช่วยกันอนุรักษ์สำนวนไทยให้อยู่คู่กับ สังคมไทยต่อไป


ประโยชน์ที่ได้รับจากสำนวนไทย
สำนวนไทยทุกสำนวน จะมีความหมายอยู่ทุกสำนวนทั้งที่บอกความหมายโดยตรง และสำนวนที่มีความหมายแอบแฝงอยู่ สำนวนมีประโยชน์ดังนี้

1. นำหลักคำสอนมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

2. ทำให้ทราบความหมายของแต่ละสำนวน

3. ทำให้เยาว์ชนประพฤติปฏิบัติตนดีขึ้น

4. ช่วยกัดเกลานิสัยของเยาว์ชนให้อยู่ในกรอบและมีระเบียบมากขึ้น

ความเป็นมาของสำนวนไทย
สำนวนไทยนั้นมีมาตั้งแต่ก่อนสมัยพ่อขุนรามคำแหง เนื่องจากในศิลาจารึกของพ่อขุนรามนั้น มีสำนวนไทยปรากฏเป็นหลักฐานอยู่เช่น เหย้าเรือนพ่อเชื้อเสื้อดำ หมายถึง ทรัพย์สมบัติ เป็นต้น การที่มีในภาษาเขียนครั้งแรกมีสำนวนไทยปรากฏอยู่นั้น แสดงให้เห็นว่าสำนวนไทยมีมาก่อนภาษาเขียนและมีการใช้ในภาษาพูดอยู่ก่อนแล้ว

หนังสือสุภาษิตพระร่วงก็มีเนื้อหาเป็นสำนวนไทยที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบันมากมาย เช่น เมื่อน้อยให้เรียนวิชา ให้หาสินเมื่อใหญ่

หนังสือกฎมณเฑียรบาลของเก่า ก็มีสำนวนไทยปรากฏอยู่ นอกจากนี้ในวรรณคดีไทยต่างๆ ตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมาก็มีสำนวนไทยปรากฏอยู่มากมาย เช่น ขุนช้างขุนแผน ลิลิตยวนพ่าย ลิลิตพระลอ และราชาธิราชเป็นต้น

สำนวนเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งของภาษาไทย เพราะเป็นคำพูดที่กลั่นกรองขึ้น เพื่อความสละสลวยของภาษาเป็นถ้อยคำที่คมคายกว่าคำพูดธรรมดา เป็นคำพูดที่รวมใจความยาวๆให้สั้นลงได้ ก็จะทำให้ผู้ฟังสามารถเข้าใจง่าย ๆ



คุณค่าของสำนวน
1. เป็นเครื่องอบรมสั่งสอนและชี้แนะให้เป็นคนดี

                - ในด้านความรัก : คนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย, น้ำพึ่งเสือพึ่งป่า

                - ในด้านการศึกษาอบรม : ฝนทั่งให้เป็นเข็ม, สิบรู้ไม่เท่าชำนาญ

                - ในการพูดจา : พูดดีเป็นศรีแก่ตัว พูดชั่วอัปราชัย ,พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง

2. สำนวนไทยช่วยสะท้อนให้เห็นความคิด ความเชื่อในสังคมไทย

                 - ความเคารพนอบน้อมผู้ใหญ่ เช่น เดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด

                 - ความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องกรรม เช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

                - ความเชื่อเกี่ยวกับการปกครอง เช่น บ้านเมืองมีขื่อมีแป

                - ความเชื่อเกี่ยวกับเกียรติยศชื่อเสียง เช่น ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชายต้องไว้ชื่อ

3. สะท้อนให้เห็นถึงภาวะความเป็นอยู่

                - เกี่ยวกับเศรษฐกิจและการครองชีพ เช่น เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย

                - เกี่ยวกับการทำมาหากิน เช่น น้ำขึ้นให้รีบตัก

4.ชี้ให้เห็นว่าคนไทยรักธรรมชาติ

                ธรรมชาติกับการดำรงค์ชีวิตของคนไทยเกี่ยวพันกันอย่างแยกไม่ออก จึงได้นำเอาลักษณะธรรมชาติของสัตว์ ต้นไม้ ฯลฯ มาตั้งเป็นสุภาษิต คำพังเพย และสำนวนต่างๆ

5.ใช้ภาษาได้ถูกต้อง

                การศึกษาสำนวนต่างๆ ช่วยทำให้เราใช้ภาษาได้ถูกต้องและสละสลวย ไม่ต้องใช้คำพูดที่เยิ่นเย้อยืดยาว แต่สามารถเรียกร้องความสนใจจากผู้อ่านได้มาก นอกจากนั้นการศึกษาสุภาษิต คำพังเพย และสำนวนของภาคต่างๆ ทำให้เราได้เรียนรู้ภาษาถิ่นไปด้วยในตัว

6. ช่วยสืบทอดวัฒนธรรม

                การเรียนรู้เรื่องสุภาษิต คำพังเพย และสำนวนต่างๆ เป็นการสืบทอดวัฒนธรรมของชาติเอาไว้มิให้สูญหาย และเกิดความภูมิใจที่บรรพชน

มูลเหตุที่ทำให้เกิดสำนวนไทย
1. เกิดจากธรรมชาติ

2. เกิดจากการกระทำ

3. เกิดจากอุบัติเหตุ

4. เกิดจากแบบแผนประเพณี

5. เกิดจากความประพฤติ

6. เกิดจากการละเล่น
สำนวนไทยที่เกิดจากธรรมชาติ

1. กาฝาก
ความหมาย กินอยู่กับผู้อื่นโดยไม่ได้ทำประโยชน์อะไรให้
ความเป็นมา กาฝากเป็นต้นไม้เล็กๆ เกิดเกาะอยู่กับต้นไม้ใหญ่ และอาศัยอาหาร ในต้นไม้ใหญ่เลี้ยงตัวเอง
ตัวอย่าง
ต้นไม้ที่มีกาฝากอยู่ ก็ต้องลดอาหารที่ได้สำหรับเลี้ยงตนไปเลี้ยงกาฝาก ประเทศก็เหมือนกัน มีภาวะการหาประโยชน์ได้มาก ก็ต้องเสียกำลังและทรัพย์ไปในทางนั้นมาก
มาจาก คนที่แอบแฝงเกาะกินผู้อื่นอยู่โดนไม่ได้ทำประโยชน์อะไรให้เขา จึงเรียกว่ากาฝาก
เช่น ถึงเป็นอนุชาก็กาฝาก ไม่เหมือนฝากสิ่งที่ว่าอย่าเย้ยหยัน
2. ขาวเป็นสำสีเม็ดใน
ความหมาย คนที่มีผิวสีดำ
ความเป็นมา สำสีขาว แต่เม็ดในดำ ขาวเป็นสำลีเม็ดใน เป็นสำนวนที่ล้อคนผิดดำ คือ คนที่มีผิวขาวนั้นเปรียบได้กับสำลี ส่วนคนที่ผิดดำก็เป็นสำสีเหมือนกันแต่เป็นเม็ดใน
ตัวอย่าง
สมศักดิ์คุณเป็นคนที่มีผิวขาวกว่าสมศรีอีก แต่ขาวเป็นสำลีเม็ดใน
3.ใจเป็นปลาซิว
ความหมาย ใช้เปรียบเทียบกับคนที่ขี้ขลาด ขี้กลัว
ความเป็นมา ปลาซิวเป็นปลาชนิดหนึ่งตัวเล็กๆ ตายง่าย คือ พอเอาขึ้นจากน้ำก็ตาย
                ตัวอย่าง
พระสังข์สรวลสันต์กลั้นหัวร่อ ยิ้มพลาง ทางตรัสตัดพ้อเอออะไรใจคอเหมือนปลาซิว
                                                                                                                          สังข์ พระราชนิพจน์รัชกาลที่
2
4. ถึงพริกถึงขิง
                ความหมาย รุนแรงเต็มที่
ความเป็นมา มาจากการปรุงอาหารแล้วใส่ขิง หรือมีรสเผ็ด ขิงมีรสร้อน เมื่อใส่มากก็จะมีรสทั้งเผ็ดทั้งร้อน การทำอะไรที่รุนแรงเต็มที่ หรือการกล่าวถ้อยคำที่รุนแรง เช่น การเล่นหรือการถกเถียง จึงพูดเป็นสำนวนว่า ถึงพริกถึงขิง

5. น้ำเชี่ยวขวางเรือ
ความหมาย ขัดขวางเรื่องหรือเหตุการณ์ ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและกำลังเป็นไปอย่างรุ่นแรง ซึ่งเมื่อทำแล้วก็เป็นอันตรายต่อตนเอง
ความเป็นมา สำนวนนี้เอากระแสน้ำที่กำลังไหลเชี่ยวมาเปรียบ คือเมื่อน้ำกำลังไหลเชี่ยว กระแสน้ำจะพุ่งแรง ถ้านำเรือไปขวางเรือก็จะล่ม
ตัวอย่าง
                น้ำ ใดฤาเท่าด้วย                น้ำมโน
เชี่ยวกระแสอาโป                               ปิดได้
ขวาง ขัดหฤทโย                                  ท่านยาก อย่าพ่อ
เรือ แห่งเราเล็กใช้                              จักร้าวรอยสลาย
                                                                                โครงสุภาษิตเก่า
สำนวนไทยที่เกิดจากการกระทำ
1. ไกลปืนเที่ยง
ความหมาย ไม่รู้เรื่องอะไรเลย
ความเป็นมา สมัยโบราณเราใช้กลองและฆ้องตีบอกเวลาทุ่มโมง กลางวันใช้ฆ้อง จึงเรียกว่าโมงตามเสียงฆ้อง กลางคืนใช้กลองจึงเรียกทุ่มตามเสียงกลอง ตามพระนครมีหอกลองตั้งกลางเมือง สำหรับตีบอกเวลา มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ถึงรัชกาลที่5 ปี พ.. 2430 มีการยิงปืนใหญ่ตอนกลางวันบอกเวลาเที่ยง ปืนเที่ยงนี้ยิงในพระนคร จึงได้ยิงกันแต่ประชาชนที่อยู่ในพระนครในบริเวณที่อยู่ใกล้เคียงกับที่ตั้งปืน ถ้าห่างออกไปมากก็จะไม่ได้ยิน ดังนั้นเกิดคำว่า ไกลปืนเที่ยง ซึ่งหมายความว่าอยู่ไกลปืนเที่ยง เป็นสำนวนใช้หมายความว่าไม่รู้ไม่ทราบเรื่องอะไรที่คนอื่นในพระนครเขารู้กัน เลยใช้ตลอดไปถึงว่าเป็นคนบ้านนอกคอกนา งุ่มง่าม ไม่ทันสมัยเหมือนชาวพระนคร
2. ข่มเขาโคให้กินหญ้า
                ความหมาย ใช้กับโค หมายถึงจับเขาโคกดลงให้กินหญ้าหรือบังคับให้กิน เอาใช้กับคนหมายความว่าบังคับขืนใจให้ทำ สำนวนนี้พูดได้อีกอย่างหนึ่งว่า งัวไม่กินหญ้า อย่าข่มเขา
ตัวอย่าง
จะจัดแจงแต่งตามอารมณ์               เหมือนข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า
กลัวเกลือกทั้งเจ็ดธิดา                                         มันจะไม่เสน่ห์ก็ไม่รู้
                                                                                                                สังข์ทอง พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 2
3. คนล้มอย่าข้าม
ความหมาย อย่าดูถูกคนที่ล้มเหลวในชีวิต
                ความเป็นมา สำนวนนี้มักมีคำต่ออีกว่า ไม้ล้มจึงข้าม แปลว่าคนดีที่ต้องตกต่ำยากจนหรือหมดอำนาจ เนื่องจากชีวิตผันแปรเปลี่ยนแปลงไป ไม่ควรจะลบหลู่ดูถูกเพราะคนดีอาจเฟื่องฟูอีกได้ ผิดกับที่ล้มแล้วข้ามได้
4. คลุกคลีตีโมง
                ความหมาย อยู่ร่วมกันคลุกคลีพัวพันไปด้วยกัน
ความเป็นมา คำว่าตีโมงหมายถึง ตีฆ้อง การเล่นของไทยในสมัยโบราณมักจะตีฆ้องกับกลองเป็นสิ่งสำคัญ เช่น โมงครุม ระเบ็ง ฯลฯ ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในบุณโณวาทคำฉันท์ว่าโมงครุ่มคณาชายกลเพศพึงแสยง ทับทรวงสริ้นแผง ก็ตะกูลตะโกดำ เทริดใส่บ่ ใคร่ยล ก็ละลนละลานทำ กุมสีทวารำศรับ บทร้องดำเนินวง
                ตัวอย่าง
                                สรวมเทริดโมงครุ่มแพร้ว               ทองพราย พร่างนอ
                ทายเทอดสรประลอง                                          หน่วงน้าว
                คนฆ้องเฆาะฆ้องราย                                         โหมงโหม่ง โม่งแฮ
                กาลเทรดขรรค์ข้องท้าว                                      นกยูง
                                                                                                                โคลงแห่โสกัญต์
5. ความวัวไม่ทันหาย ความควายก็เข้ามาแทรก
                ความหมาย เกิดเรื่องขึ้นยังไม่ทันเสร็จเรื่อง มีเรื่องใหญ่เกิดขึ้นซ้อนขึ้นมาอีก
                ตัวอย่าง
                                นิทานเรื่องหนึ่งมีใจความว่า เกิดคดีลักวัวพิพาทกันในระหว่างชายสองคนพระเจ้าแผ่นดินทรงชำระยังไม่ทันเสร็จ เกิดเรื่องควายในระหว่างชายทั้งคู่นั้นอีก จึงว่า ความวัวไม่ทันหาย ความควายก็เข้ามาแรก
                                                พบปะหน้าไหนใส่เอาหมด           ไม่ลดละทะเลาะคนเสียจนทั่ว
                                ตะกิ้งตะเกียงเงี่ยงงารอบตัว                              ความวัวไม่หายความควายมา
ไกรทอง พระราชนิพนธ์รัชการที่2
สำนวนที่เกิดจากอุบัติเหตุ
1. ดาบสองคม
ความหมาย สิ่งที่เราทำลงไปอาจให้ผลทั้งทางดี และทางร้ายได้
ความเป็นมา เปรียบเหมือนกับดาบ ซึ่งถ้ามีคมทั้งสองข้างก็ย่อมเป็นประโยชน์ใช้ฟันได้คล่องแคล่วดี แต่ในขณะที่ใช้คมข้างหนึ่งฟันลง คมอีกด้านหนึ่ง อาจโดนตัวเองเข้าได้ การทำอะไรที่อาจเกิดผลดีและร้ายได้เท่ากัน จึงเรียกว่า เป็นดาบสองคม
2. ดูตาม้าตาเรือ
ความหมาย พูดหรือทำอะไรก็ตาม ให้ระมัดระวังพินิจพิเคราะห์ ว่ามีอะไรอยู่ข้างหน้า ข้างหลังบ้าง ไม่ให้ซุ่มซ่าม
ความเป็นมา มาจากการเล่นหมากรุก ซึ่งมีตัวหมากเรียกว่าม้าและเรือม้าเดินตามเฉียงทะแยงซึ่งทำให้สังเกตยาก ส่วนเรือเดินตายาวไปได้สุดกระดานเวลาเดินหมากอาจจะเผลอ ไม่ทันสังเกตตาที่ม้าอีกฝ่ายหนึ่งเดิน หรือไม่ทันเห็นเรืออีกฝ่ายหนึ่งที่อยู่ไกล เดินหมากไปถูกตาที่ม้าหรือเรือฝ่ายตรงข้ามสกัดอยู่ ก็ต้องเสียตัวหมากของตนไปให้คุ่แข่ง การดูหมากต้องดูตาม้าตาเรือของฝ่ายตรงข้าม เลยนำสำนวนนี้มาพูดกันเมื่อเวลาจะพูดหรือทำอะไรก็ตาม ให้ระมัดระวังพินิจพิเคราะห์ ว่ามีอะไรอยู่ข้างหน้า ข้างหลังบ้าง ไม่ให้ซุ่มซ่าม
3. ตกกระไดพลอยโจน
ความหมาย พลอยประสมทำไปในเรื่องที่ผู้อื่นเป็นต้นเหตุก็ได้ หรือเป็นเรื่องของตนเอง ไม่เกี่ยวกับผู้อื่นก็ได้
ความเป็นมา เมื่อเห็นว่าจำเป็นต้องทำตามไป สำนวนนี้มีความหมายเป็นสองทาง ทางหนึ่งผู้หนึ่งผู้อื่นเป็นไปก่อนแล้วตัวเองพลอยตามเทียบตามคำในสำนวนก็คือว่า เห็นคนอื่นตกกระไดตนเองก็พลอยโจนตาม อีกทางหนึ่งไม่เกี่ยวกับคนอื่น ตนเองรู้สึกตนว่าถึงเวลาที่ตนเองจะต้องทำโดยที่ไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ ก็เลยประสมทำไปเสียเลย เทียบกับคำในสำนวนเทียบกับว่าตนเองตกกระไดแต่ยังมีสติอยู่ ก็รีบโจนไปให้มีท่าทางไม่ปล่อยให้ตกไปอย่างไม่มีท่า
ตัวอย่าง ในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนปลายงามเข้าหาศรีมาลา มีกลอนขุนแผนว่า
งองามก็หลงงงงวย           ไม่ช่วยไปข้างหน้าจะว้าวุ่น
ตกกระไดพลอยโผนโจนตามบุญ    ทำเป็นหุนหันโกรธเข้าพลอยงาม
4. สี่ตีนยังรู้พลาดนักปราชญ์ยังรู้พลั้ง
ความเป็นมา คำว่า สี่ตีน โบราณหมายถึงช้าง ในเรื่องนางนพมาศว่าถึงบุราณท่าว่าคชสารสี่ตีน ยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้ล้ม ใครอย่าได้ประมาท คำอันนี้ก็เป็นจริงเพราะว่าช้างเวลาก้าวเท้าจะก้าวหนักมั่นคงมากกว่าสัตว์อื่น ๆ
ตัวอย่าง
สี่ตีน     คือช้างใหญ่          เยี่ยมเขา
ยังพลาด                พลิกแพลงเบา      บาทเท้า
นักปราชญ์            อาจองเอา              อรรถกล่าว ได้นา
ยังพลั้ง                   พลาดขาดค้าง       อย่าอ้างอวดดี
โครงสุภาษิตเก่า
5.หัวชนกำแพง
ความหมาย สู้ไม่ถอย สู้จนถึงที่สุด ฯลฯ ไปติดกับกำแพงไปไหนไม่ได้ ก็ยังสู้
ตัวอย่าง
บทละครดึกดำบรรพ์ของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศร์ ฯ
น้อย ฤแนะ เป็นไรมีล่ะ คงได้ดูดีหรอก เล่นกะมันจนหัวชนกำแพงซีน่ะ
สำนวนไทยเกิดจาก แบบแผนประเพณี
1. กินขันหมาก - ได้แต่งงาน อย่างมีหน้ามีตา
ความเป็นมา สำนวนนี้มาจากประเพณีสู่ของแต่งงานของไทยที่มีมาแต่โบราณดึกดำบรรพ์ คือการสู่ขอผู้หญิงมาเป็นภรรยา ผ่ายชายต้องจัดขันใส่หมากไปหมั้นชั้นหนึ่งก่อน เรียกว่าขันหมากหมั่นถึงกำหนดขันแต่งงานก็ได้ของไปอีก มีเป็นสองอย่าง คือ ขันใส่หมากพลู ข้าวสารกับเตียบ(ตะลุ่มหรือโต๊ะ) ใส่ห่อหมก หมูต้ม ขนมจีน เหล้าอ้อย มะพร้าวอ่อน ฯลฯ เรียกว่าขันหมากดังกล่าว ผ่ายหญิงรับไว้สำหรับเลียงแขกและแจกจ่ายชาวบ้าน เพื่อแสดงว่า มีบุตรสาวได้แต่งงานเป็นหลักฐาน ใครที่มีบุตรได้แต่งงานจึงชื่อว่ากินขันหมากซึ่งหมายถึงได้กินของซึ่งเรียกว่า ขันหมากเอก ขันหมากเลวนั้น สุนทรภู่ว่าไว้ในสุภาษิตสอนหญิงว่าท่านเลี้ยงมาว่าจะให้เป็นหอห้องหมายจะกองทุนสินกินขนมนี้ก็หมายถึง กินขันหมาก เนื่องจากแต่งงานบุตรีนั้น ในกฏหมายลักษณะผังเมียที่มีมาตั้งแต่แผ่นดิน พระเจ้าอู่ทองมีมาตรา หนึ่งว่าผู้ใดไปสู่ขอลูกสาวหลานสาวท่าน บิดามารดาญาติแห่งหญิงตกปากให้ได้กิน ขันหมากท่านแล้วนี้แสดงว่าดำกินขันหมากเป็นสำนวนเก่าแก่ ที่สุดของไทย
ตัวอย่าง
ถึงตกทุกข์บุกไพรได้ความยาก แต่ได้กินขันหมากเป็นสองหน
ไชยเชษฐ์ พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 2
2. เข้าตามตรอกออกตามประตู
สำนวนนี้แปลไปได้สองนัยหนึ่งแปลตามตัวที่ว่าเข้าตามตรอกก็ หมายความว่าเวลา จะไปหาใครที่ไม่คุ้นเคย ให้ดูลาดเลา เลียมเคียงเข้าไปก่อนเช่น บ้านเขามีประตูเล็ก หรือมีทางสำหรับ เข้าออกอีกต่างหากก็ให้เข้าทางนั้น ไม่ควรจะเข้าทางประตูใหญ่ทีเดียว เมื่อเสร็จธุระแล้วเวลาจะออกก็ออกทางประตูใหญ่ได้แปลว่า ทำอะไรให้รู้การเทศะ อีกนัยหนึ่งเข้าตามรอกคำตรอกเป็นแต่เพียงพูดให้คล้อง ของกับออกส่วนความหมาย สำคัญอยู่ที่ประตูคือ ให้เข้าออกทางประตูตามที่มีอยู่ ซึ่งแปลว่า ทำอะไรให้ถูกต้องตามธรรมเนียมแต่อย่างไรก็ตามความหมายของสำนวนนี้ก็ลงกันในข้อที่ว่า ให้รู้จักทำให้ถูกต้องเหมาะสม
3. ไปวัดไปวาได้
ความเป็นมา สมัยก่อนวัดเป็นที่พึ่งของประชาชน ชายหญิงไปชุมนุมกัน เช่นงานสงกรานต์เทศน์มหาชาติ ทองกฐิน ฯลฯ เป็นที่เข้าสังคมออกหน้าออกตาอวดกัน หญิงสาวที่มีรูปร่างหน้าตาดี พอจะอวดได้จึงพูดเป็นสำนวนว่าไปวัดไปวาได้
ตัวอย่าง
แม่เฉลาน่ะเป็นที่พอใจเธอละฤา
เรี่ยมทีเดียวก็พอไปวัดไปวาได้ไม่อายเขาแต่น่ากลัวคุณพ่อจะไม่เป็นที่พอใจ
บทละครพูด ทาโล่ห์ พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 6

4.ฝังรกฝักราก
ความหมาย ตั้งหลักแหล่งหรืออยู่ที่ใดที่หนึ่งถาวร
ความเป็นมา มูลของสำนวนมาจากพิธีฝักรกของทารก ในสมัยโบราณ คือ เมื่อทารกคลอดแล้ว บิดามารดาเอารกของทารกนั้นใส่หม้อตาลไว้เอาเกลือโรยบิดหน้าถึง 3 ขัน ก็ทำพิธีฝักของที่จะเข้าพิธีมีมะพร้าวแตกหน่อ 2 ผล นำไปฝัง ณ บริเวณบ้านที่ดินที่ฝังรกกับมะพร้าวนั้นนเป็นที่ที่บิดมารดากะไว้จะให้เป็นของบุตรสืบไป เช่นเมื่อโตขึ้นจะแต่งงานก็ปลูกเรือนหอ หรือเรือนที่จะเป็นที่อยู่อาศัย ตรงที่ฝักรกมีต้นมะพร้าวขึ้นนั้นเป็นที่ตั้งตัวเป็นหลักแหล่ง สื ประเพณีนี้จึงเกิดคำว่าฝักรกฝังรากขึ้นฝังรกก็คือ ฝักรกตรงๆฝักรากหมายถึงฝัง หรือปลูกมะพร้าวแตงหน่องอกรากตัดตันเป็นยึดมั่น สำนวนปลูกฝังหมายถึง ทำให้เป็นหลักฐานที่มั่นคง
5. ไม่รู้จักหม้อข้าวหม้อแกง
ความหมาย ยังไม่เป็นการบ้านการเรือน ไม่รู้จักทำงานบ้าน ยังไม่เป็นบ้านแม่เรือน สำนวนนี้ใช้กับหญิงสาว
ความเป็นมา ประเพณีไทยมีการให้เด็กสาวเข้าครัว ฝึกทำอาหาร แปลว่าให้รู้จักหม้อข้าวหม้อแกงๆไว้ คือรู้ว่าหุงข้าวและทำกับข้าว
ตัวอย่าง
แม่น้อย ฉันก็ทราบแล้วจ๊ะ แต่ข้างลูกสาวฉันนั้นใจมันยังเป็นเด็กนัก ไม่เป็นหม้อข้าวหม้อแกงอะไรได้เลย จะไปเป็นแม้เหย้าแม่เรือนยังไงได้
สำนวนไทยเกิดจากความประพฤติ
1. นกสองหัว
คนกลับกลอกโลเล ทำตนเข้าด้วยทั้งสองฝ่าย ไม่มีอุดมคติมั่นคง เหตุที่เอานกมาเปรียบก็เพราะว่า สมัยก่อนเคยเรียกหญิงงามเมือง (นครโสเภณี) หรือหญิงที่หากินอย่างนี้ว่า นก เมื่อพูดว่า นก ก็เป็นอันว่ารู้กัน
ตัวอย่าง
เหม่อ้ายเชียงทองจองหองเอา        ลงไปเข้ากับไทยช่างไม่กลัว
แต่ก่อนนั้นมันขึ้นแก่เรานี้                                 ถือดีหยิ่งยกนกสองหัว
เสภาขุนช้างขุนแผน
2. ผักชีโรยหน้า
ทำอะไรแต่เพียงเล็กน้อยเป็นการฉาบหน้าเพื่อจะลวงให้เห็นว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง เรียบร้อยสมบูรณ์ หรือทำเพียงผิวเผินฉาบหน้าชั่วคราวให้เห็นว่าดี สำนวนนี้มักพูดในทางที่ไม่ดี แต่ลางทีใช้ในทางดีก็ได้
ตัวอย่างเช่น ในนิราศภูเขา ทองรำพัน ของสุนทรภู่
ใช่จะมีที่รักสมัคมาด        แรมนิราศสร้างมิตรพิศมัย
ซึ่งครวญคร่ำทำทิพิรี้พิไร                   ตามนิสัยกาพย์กลอนแต่ก่อนมา
เหมือนแม่ครัวคั่วแกงพะแนงผัด     สารพัดพยัญชนังเครื่องมังสา
อันพริกไทยใบผักชีเหมือนสีกา       ต้องโรยหน้าเสียสักหน่อยอร่อยใจ
3. รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา
ทำตัวดี ประพฤติดี มีวิชาความรู้ก็ย่อมจะได้งานเบางานสูง ทำตัวไม่ดี ประพฤติไม่ดี ไม่มีวิชาความรู้ก็ย่อมจะต้องทำงานหนัก งานต่ำ จั่วเป็นของเบาต่างกับเสาที่เป็นของหนัก
ตัวอย่าง
รัก ความเจริญเร่งรู้           ระวังตน
ดี ชั่วตัวต้องตน                                    เที่ยวจ้าง
หามหาบแบกของขน                         เอาค่า แรงเฮย
จั่ว ย่อมเบาบ่าบ้าง                               แบ่งได้เดินสบาย
รัก การหยาบยุ่งแล้ว           เลยระยำ
ชั่ว บ่มีใครทำ                                       โทษให้
แบก แต่โง่งึมงำ                                  งงง่วงนอนแฮ
เสา หนักหามเหนื่อยได้                    ยากแท้ทำการ
โครงกระทู้สุภาษิต
4. สันหลังยาว
ขี้เกียจ เกียจคร้าน สำนวนนี้พูดเต็มว่า ขี้เกียจสันหลังยาว
5. เอาจมูกเขามาหายใจ
อาศัยผู้อื่นให้ทำงานให้ พึ่งผู้อื่นวานผู้อื่นให้เขาทำอะไร ๆให้ มุ่งถึงว่าย่อมจะไม่สะดวก ไม่ได้รับผลดี สำนวนนี้บางทีพูดว่า เอาจมูกคนอื่นมาหายใจ หรือว่ายืมจมูกเขามาหายใจ
สำนวนไทยเกิดจากการละเล่น
1. เป็นหุ่นให้เชิด
อยู่ในฐานะหรืออยู่ในอำนาจให้คนอื่นใช้เป็นเครื่องบังหน้าเขาให้ทำอย่างใดก็ทำอย่างนั้น ตนไม่มีอำนาจที่จะทำได้ นอกจากต้องสำแดงตัวรับหน้าแทนเขาไปเรื่อย ๆ มูลของสำนวนนี้มาจากการเล่นหุ่น เช่น หุ่นใหญ่ หุ่นกระบอก ซึ่งมีคนเชิดตัวหุ่นอยู่ด้านหลัง จะให้ตัวหุ่นทำอย่างไรก็แล้วแต่คนเชิดทั้งสิ้น
2. รำไม่ดีโทษปี่พาทย์
ตัวเองทำไม่ดี ทำไม่ถูกหรือทำผิดแล้วไม่รู้ หรือไม่ยอมรับว่าตัวผิด กลับไปซัดไปโทษเอาคนอื่น มูลของสำนวนมาจากการฟ้อนรำ ทำท่าที่มีการบรรเลงปี่พาทย์ประกอบ ปี่พาทย์เป็นหลักของการรำลีลาท่ารำ ต้องให้เข้ากับกระบวนปี่พาทย์ ผู้รำชำนาญก็รำเข้าปี่พาทย์ได้งามถ้าไม่ชำนาญก็ผิดจังหวะพลัดพลาดไปไม่งาม สำนวน รำไม่ดีโทษปี่พาทย์ หมายความว่า ตนรำไม่ดีแล้วไปโทษปี่พาทย์ว่าทำเพลงผิด
ตัวอย่าง ท่าละครมีกลอนว่า
แม้ชำนาญการฝึกรู้สึกลับ                บทสำหรับท่าทีที่แอบแฝง
ย่อมเจนจัดคัดลอกออกสำแดง                          แม้นจะแกล้งทำบ้างก็ยังดี
หากว่าไม่เชี่ยวชาญการฝึกหัด                          ถึงจะดัดตามต้อยสักร้อยสี
ไม่นิ่มนวลยวลยลกลวิธี                                     อาจโทษพาทย์กลองรับร้องรำ
3. เล่นเอาเถิดเจ้าล่อ
หมายความว่า สวนกัน สวนกันไปสวนกันมา คนละที่ไม่พบกัน ตามหากันคนนี้ไป คนนั้นมา ไม่พบกัน มูลของสำนวนนี้มาจากการเล่นที่เรียกว่า เอาเถิด ฝ่ายหนึ่งล่อให้ไล่ ฝ่ายหนึ่งตามจับ ฝ่ายล่อพยายามหลบหลีก ไม่ให้อีกฝ่ายไล่จับได้
4. หัวไม่วาง หางไม่เว้น
หมายความว่าเอาทั้งหมด เอาทุกอย่าง ทำอยู่ตลอดเวลา สำนวนนี้มักพูดเกี่ยวการเล่น เด็กเล่นหัวไม่วาง หางไม่เว้น จึงอาจเอามาจากการเล่นของไทย ที่สมัยโบราณเรียกว่า งูกินหาง ซึ่งมีคำพูดอยู่ในตอนท้ายว่า กินหัวกินหาง กินกลางตลอดตัว มิฉะนั้นก็อาจมาจากปลา คือกินทั้งหัวกินทั้งหาง หมดคนเดียว ไม่ปล่อยให้คนอื่นได้กินบ้าง
5. ออกโรง
ออกแสดงการละเล่นมหรสพ คำว่าโรงหมายถึง โรงโขนโรงละคร โรงหนัง สำนวนนี้ใช้ในหารมหรสพแม้จะไม่เป็นโรงแต่เป็นการเล่นมหรสพอะไรก็ใช้ได้ บางครั้งใช้กับผู้ที่ออกทำงานด้วยตนเองทั้งๆ ที่ตนไม่ต้องทำ แต่ก็ออกทำเองก็ได้
ตัวอย่าง
ทั้งรูปร่างจริตติดโอ่โถง   เคยเล่นนอกออกโรงมาหลายหน
ขับรำทำได้ตามจน                              ดีจริงยิ่งคนที่มาเอย
อิเหนา พระราชนิพนธ์รัชกาลที่

 





 
Blogger Templates