Social Icons

>>> บ้านของคุณครู ภาษาไทย ( นู๋ฮุส นู๋ยัง นู๋มีนี นู๋ซา นู๋วีรา )

วันอังคารที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2557

ตัวอย่างสำนวนสุภาษิตไทย



ตัวอย่างสำนวนสุภาษิตไทย
นานาสัตว์ในสำนวนไทย
เริ่มที่ ควาย ปรากฎอยู่ในสำนวน ฆ่าควายเสียดายพริกบางทีก็ว่า ฆ่าควายเสียดายเกลือ 

ที่มา : สำนวนนี้มาจากการล้มวัวล้มควาย (ฆ่าวัวฆ่าควาย) เพื่อนำเนื้อและอวัยวะต่างๆ ของมันมาทำอาหารเลี้ยงแขกเหรื่อที่มาร่วมงาน เช่น งานบวช งานโกนจุก งานขึ้นบ้านใหม่ ฯลฯ เจ้าภาพหรือเจ้าของงานอุตส่าห์ลงทุนลงแรงล้มวัวล้มควายเพื่อนำเนื้อของมันมา ทำอาหารเลี้ยงแขกเหรื่อ ถ้ามัวแต่เสียดายเครื่องปรุงรสอย่างพริกและเกลือเสียแล้ว อาหารที่ทำก็คงมีรสชาติไม่อร่อย สำนวนว่า ฆ่าควายเสียดายพริก หรือ ฆ่าควายเสียดายเกลือ             
ความหมาย :  ทำงานใหญ่โตหรือจัดงานใหญ่โต ถ้ามัวแต่ตระหนี่ถี่เหนียวกลัวหมดเปลืองหรือเสียดายเงินก็จะทำให้งานเกิดความเสียหายได้                  
   


*******************************************************************
 กระต่าย ปรากฎอยู่ในสำนวน กระต่ายตื่นตูม และ กระต่ายหมายจันทร์          

ที่มาของสำนวนกระต่ายตื่นตูม : มี ที่มาจากนิทานที่เล่ากันต่อๆ มา ชาวกรมประชาสัมพันธ์คงจำนิทานเรื่องนี้ได้ เรื่องมีอยู่ว่า กระต่ายนอนหลับอยู่ใต้ต้นตาล ลูกตาลหล่นจากต้นลงมาที่พื้นดินเสียงดังตูมกระต่ายตกใจตื่นและออกวิ่งสุด ชีวิตเพราะคิดว่าฟ้าถล่ม คนโบราณจึงนำสำนวนว่า กระต่ายตื่นตูม มาเปรียบเทียบกับคนที่ตื่นตกใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม เช่น ถ้าเราได้ยินข่าวรือว่าจะเกิดสงครามโลกบ้าง น้ำมันจะหมดโลกบ้าง ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ทำให้หลายคนหวาดกลัววิตกกังวลเกินเหตุตระหนกตกใจกับสิ่งที่ยัง มาไม่ถึงเปรียบได้กับพฤติกรรมของกระต่ายในนิทาน          
ความหมาย : สำนวนกระต่ายตื่นตูมนี้ จึงใช้ในความหมายเชิงตำหนิ คนที่หวาดกลัว วิตกกงวลกับเหตุการณ์หรือเรื่องที่ยังไม่เกิดขึ้น     

ที่มาของกระต่ายหมายจันทร์ : กระต่ายปรากฎตัวอยู่ในอีกสำนวนหนึ่ง คือ สำนวน กระต่ายหมายจันทร์ ธรรมชาติของกระต่ายชอบหากินตอนกลางคืน ส่วนกลางวันจะนอนเล่นตามร่มไม้ เพราะเหตุที่กระต่ายชอบหากินตอนกลางคืนนี้เอง ก็เลยทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า มันชอบแสงจันทร์ชอบแหงนดูพระจันทร์ จึงนำเอาพฤติกรรมของกระต่ายมาเปรียบกับผู้ชายว่าเหมือนกระต่ายที่มีฐานะต่ำ ต้อยอยู่บนพื้นดิน หมายปองผู้หญิงซึ่งเปรียบเหมือนพระจันทร์ที่อยู่บนท้องฟ้ามีฐานะสูงไม่มีวัน ที่ผู้ชายต่ำต้อยจะสมหวังกับผู้หญิงสูงศักดิ์ได้  
ความหมาย : สำนวนกระต่ายหมายจันทร์ ใช้เปรียบคู่รักชายหญิงที่ไม่คู่ควรกัน ฝ่ายชายต่ำต้อยกับฝ่ายหญิงสูงศักดิ์ ซึ่งคล้ายกับสำนวนดอกฟ้ากับหมาวัด       

******************************************************************
 กระรอก ปรากฎตัวในสำนวน ไม่เห็นน้ำตัดกระบอก ไม่เห็นกระรอกโก่งหน้าไม้                        

ที่มา :
ชีวิต ความเป็นอยู่ของคนเดินป่าหรือพวกนายพรานนั้น เมื่อจะออกเดินป่าก็ต้องตัดไม้ไผ่มาทำกระบอกน้ำติดตัวเวลาเดินทางและต้องนำ หน้าไม้ติดตัวไปด้วย (หน้าไม้ เป็นเครื่องยิงชนิดหนึ่ง มีคันและราง ยิงด้วยลูกหน้าไม้) แต่คนเดินป่าหรือนายพรานบางคนก็ไม่ชอบตัดไม้ไผ่ทำกระบอกน้ำติดตัวไป แต่จะไปหาเองข้างหน้าระหว่างเดินทาง จะเอาเฉพาะหน้าไม้ติดตัวไปเท่านั้น เมื่อพบแหล่งน้ำแล้วจึงค่อยตัดไม้ไผ่มาทำกระบอกน้ำ ถ้ายังไม่พบแหล่งน้ำยังไม่ตัดไม้ไผ่มาทำกระบอกซึ่งอาจจะเหนื่อยเปล่าเพราะ ไม่มีแหล่งน้ำก็ได้ เช่นเดียวกับการโก่งหน้าไม้ที่ยังไม่เห็นกระรอกให้ยิง การโก่งหน้าไม้ก็เสียเวลาเปล่า
ความหมาย : รีบทำไปทั้งๆ ที่ยังไม่ถึงเวลาที่เหมาะสม หรือยังไม่ถึงเวลาที่สมควร                     

****************************************************************
เต่าและตุ่น ที่อยู่ในสำนวน โง่เง่าเต่าตุ่น         

ที่มา : เต่า เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำลักษณะเด่น คือ มีกระดอง ซึ่งเป็นสัตว์ที่รู้จักกันดี ส่วนตุ่น เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม รูปร่างคล้ายหนูตะเภา ขุดรูเป็นที่อยู่อาศัย   
ความหมาย : คนโง่คนเซ่อ  นอกจากควาย กระต่าย กระรอก เต่า และตุ่นแล้ว                  

********************************************************************
ช้างสัตว์ที่มีบุญคุณและมีประโยชน์กับชาติไทยมาแต่โบราณ ช้างปรากฏตัวอยู่ในสำนวนไทยหลายสำนวน เช่น ขี่ช้างจับตั๊กแตน เลี้ยงช้างกินขี้ช้าง ดูช้างให้ดูหน้าหนาว ดูสาวให้ดูหน้าร้อน ช้างตายทั้งตัวเอาใบบัวปิด ฆ่าช้างเอางา ฯลฯ ลองอ่านกันไปทีละสำนวนเชื่อว่าคงให้มุมมองแง่คิดกับชาวกรมประชาสัมพันธ์ได้ ไม่น้อย 
>>>ขี่ช้างจับตั๊กแตน                 

ที่มา :
มองเห็นความแตกต่างระหว่างช้างกับตั๊กแตนได้ชัดเจน ตั๊กแตนเป็นแมลงตัวเล็กจับยาก ถ้าจะจับต้องใช้สวิงขนาดเล็กผูกกับไม้ปลายยาว ไล่ครอบจึงจะจับได้ ถ้าใช้มือไม่มีทางที่จะจับได้ เพราะตั๊กแตนบินไปได้ไกลๆ และรวดเร็วมาก ส่วนช้างเป็นสัตว์ตัวใหญ่เทียบไม่ได้กับแมลงอย่างตั๊กแตน และถ้าเราต้องขี่ช้างไปจับตั๊กแตน จะสมควรแล้วหรือ เป็นเรื่องที่ต้องลงทุนลงแรงกันถึงขนาดนั้นเชียวหรือ                
ความหมาย: สิ่งที่เราทำใหญ่โตเกินความจำเป็นหรือเกินกว่าเหตุ ใช้เปรียบเทียบเพื่อชี้ให้เห็นว่า การลงทุนอย่างมหาศาลเพื่อทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ใหญ่โต แต่ไดผลประโยชน์หรือผลตอบแทนพียงนิดเดียวนั้น ไม่คุ้มค่า ไมสมควรที่จะทำ
     

****************************************************************************
 >>>เลี้ยงช้างกินขี้ช้าง          

ที่มา : คน เลี้ยงช้างของหลวงในสมัยโบราณที่เรียกว่า ตะพุ่น คือ คนเกี่ยวหญ้ามาให้ช้างกิน โดยเมื่อเกี่ยวหญ้าแล้วก็จะนำมาวางกองไว้ห่างๆ ไม่ให้ช้างเอางวงตวัดหญ้ากินเองได้ เมื่อช้างหิวก็ส่งเสียงร้องและฟวดงวงไปมา คนที่เดินผ่านมาก็เกิดความสงสัยถามว่าทำไมถึงไม่เอาหญ้าให้ช้างกิน คนเลี้ยงก็ตอบว่าถ้าอยากให้ช้างกินหญ้าก็ช่วยซื้อหญ้าให้ช้างกินหน่อยเถอะ ด้วยความสงสารคนที่เห็นดังนั้นก็เลยต้องซื้อหญ้าให้ช้างกิน คนเลี้ยงช้างก็เลยได้เงินค่าหญ้าไปฟรีๆ สำนวนเลี้ยงช้างกินขี้ช้างจึงหมายถึง หาประโยชน์จากงานที่ตนเองทำอยู่                               
ความหมาย : ใช้เปรียบเทียบคนที่ทำงานชนิดใดแล้วพลอยมีส่วนได้ประโยชน์จากงานนั้น แต่เป็นประโยชน์ที่ไม่ถูกต้องไม่บริสุทธิ์       


***********************************************************************
 >>>ดูช้างให้ดูหน้าหนาว ดูสาวให้ดูหน้าร้อน                  

ที่มา : คน โบราณให้ดูช้างหน้าหนาวก็เพราะว่า หน้าหนาวเป็นเวลาที่ช้างตกมัน จะเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นดุร้ายอาละวาดคนที่เลี้ยงช้างเป็นเจ้าของช้างก็จะรู้ ว่าช้างตัวไหนมีพละกำลังมากในการชักลากซุง ส่วนในหน้าร้อน หญิงสาวมักแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าน้อยชิ้น ทำให้เห็นรูปร่างสัดส่วนผิวพรรณที่สวยงาม ชายหนุ่มจึงชอบดูหญิงสาวในหน้าร้อนนี่เอง                        
ความหมาย : สำนวนนี้เป็นคำกล่าวแนะนำให้สังเกตลักษณะของช้างและหญิงสาวที่เป็นไปตามธรรมชาติและสภาวะอากาศ                               


******************************************************************

 >>>ช้างตายทั้งตัวเอาใบบัวมาปิด 

ที่มา : ช้างนั้นตัวใหญ่มากเมื่อเทียบกับใบบัว ใบบัวจะปิดช้างทั้งตัวได้อย่างไร เช่นเดียวกับความชั่วที่พยายามกลบเกลื่อนปกปิด ไม่สามารถปิดมิด ความจริงย่อมปรากฏออกมาไม่วันใดก็วันหนึ่ง
ความหมาย : สำนวนนี้ใช้เปรียบเทียบกับคนที่ไม่ยอมสารภาพรับผิด พยายามกลบเกลื่อนปิดบัง


********************************************************************
 >>>ปิดท้ายสำนวนฆ่าช้างเอางา
ที่มา : ช้าง เป็นสัตว์ที่มีคุณประโยชน์มาก ทั้งลากซุง ทั้งเป็นยานพาหนะ ช้างไม่ได้มีประโยชน์ด้านแรงงานเท่านั้น แต่ช้างยังเป็นสัตว์ที่มีความสวยงามโดยเฉพาะงา เชื่อกันว่างาช้างเป็ของมงคล ทำให้คนอยากไดไว้ครอบครอง แต่การจะได้งาช้างนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลยต้องล้มช้าง (ฆ่าช้าง) เสียก่อนจึงจะเอางามาได้ เป็นการทำลายสิ่งใหญ่โต (คือช้างทั้งตัว) เพื่อแลกกับสิ่งเล็กน้อย (คือ งาเพียงคู่เดียว) โดยไม่คำนึงว่าสมควรหรือไม่
ความหมาย : สำนวนนี้ใช้เตือนสติให้เห็นถึงความสำคัญของสิ่งที่จะได้มา โดยต้องทำลายสิ่งที่มีค่ามากมายไป เป็นการแลกเปลี่ยนที่ไม่คุ้มค่า
           

********************************************************************

  >>>ส่วน จระเข้ มาพร้อมกับ เสือ ในสำนวนว่า หนีเสือปะจระเข้                  

ที่มา : ทั้งเสือและจระเข้เป็นสัตว์ทีทำอันตรายมนุษย์ทั้งคู่                      
ความหมาย : หนีอันตรายอย่างหนึ่งแล้วต้องพบกับอันตรายอีกอย่างหนึ่ง
                         

******************************************************************

>>>อีกสำนวนหนึ่งที่กล่าวถึงจระเข้ คือ สอนจระเข้ให้ว่ายน้ำ”               

ที่มา : จระเข้นั้นเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ คืออยู่ได้ทั้งในน้ำและบนบกจึงไม่จำเป็นตรงไปสอนในสิ่งที่จระเข้เก่งและชำนาญอยู่แล้ว       
ความหมาย : สอนในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้วชำนาญอยู่แล้ว


*************************************************************

 >>>ปิดท้ายกับสำนวน จระเข้ขวางคลอง 

ที่มา :
ใน สมัยก่อน แม่น้ำลำคลองยังมีจระเข้ชุกชุม ถ้าชาวบ้านพายเรือไปในคลองแล้วพบจระเข้นอนขวางอยู่ก็จำเป็นต้องหยุดเรืออยู่ ตรงนั้น พายเรือต่อไปไม่ได้                          
ความหมาย :
มีอุปสรรคมีสิ่งกีดขวางการทำงาน ใช้กล่าวตำหนิผู้ที่ชอบกันท่าผู้อื่นไม่ให้ทำงานทำการได้โดยสะดวก                             
**********************************************************************
แมวปรากฏตัวอยู่ในสำนวนไทยหลายสำนวน เช่น ย้อมแมวขาย ที่เท่าแมวดิ้นตาย ปิดประตูตีแมว ชื่อเป็น (เหมือน) แมวนอนหวด ฝากเนื้อไว้กับเสือ ฝากปลา (ย่าง) ไว้กับแมว หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว ฯลฯ   
    >>>เริ่มกันที่สำนวนแรก ย้อมแมวขาย”      

ที่มา : สำนวนนี้น่าจะมาจากการเลี้ยงแมวของคนไทย เจ้าของแมวอาจจะเห็นว่าแมวของตนมีสีขนไม่สวย แมวมีลักษณะไม่ดี เจ้าของก็เลยนำแมวมาตกแต่งย้อมสี ให้เห็นว่า แมววของตนมีสีสันสวยงาม สำนวนย้อมแมวขาย       
ความหมาย : ตกแต่ง สิ่งที่ไม่ดี ไม่สวยงาม โดยมีเจตนาให้ผู้อื่นเชื่อว่าเป็นของดี ส่วนใหญ่มักใช้พูดประชดประชันเสียดสีสาวงามที่ขึ้นประกวดเวทีต่างๆ ที่มักถูกปรับปรุงรูปโฉมให้สวยงามหลอกสายตาขณะกรรมการตัดสินการประกวด ยิ่งไปกว่านั้นสาวงามบางคนอาจจะไม่ใช่สาวบริสุทธิ์    
                  

*************************************************************
  >>>ถัดมาคือสำนวน ที่เท่าแมวดิ้นตาย
ที่มา : สำนวนนี้มาจากนิทานพื้นบ้านเรื่องศรีธนญชัย เรื่องก็คือว่า ศรีธนญชัยทูลขอที่ดินจากพระเจ้าแผ่นดิน พระเจ้าแผ่นดินเห็นว่าเป็นที่ดินไม่มากมีขนาดเล็กเท่าแมวดิ้นตายคงมีขนาด เล็กแค่ตารางวาเดียว ก็ตกลงตกปากรับคำว่าจะยกที่ดินให้ แต่ศรีธนญชัยเจ้าปัญญา (ผสมกับเจ้าเล่ห์) เอาแมวตัวหนึ่งมาผูกเชือกไว้ แล้วใช้ไม่เฆี่ยนตีแมวให้ดิ้นไปเรื่อยๆ จนแมวตาย แมวดิ้นไปกว่าจะตายก็บริเวณกว้างมาก ศรีธนญชัยก็เลยได้ที่ดินมากมาย                 
ความหมาย : ที่ดิน เพียงเล็กน้อยจริงๆ แต่ที่ดินเท่าแมวดิ้นตายตามอุบายของศรีธนญชัยกลับกลายเป็นเรื่องตรงกันข้าม สำนวนที่เท่าแมวดิ้นตายใช้เปรียบเทียบว่าเป็นเจ้าของที่ดินเพียงผืนเล็กๆ เท่านั้น


***************************************************************
  >>>สำนวนต่อมาคือสำนวน ปิดประตูตีแมว       

ที่มา : อย่างที่บอกไว้แล้วว่า แมวเป็นสัตว์เลี้ยงของคนไทยที่นิยมเลี้ยงไว้ตามบ้านเหมือนสุนัข บ้านของอักษราเองที่ต่างจังหวัดก็เคยเลี้ยงแมวบางวันก็เห็นมันหายไปไม่มา เดินให้เห็น แม่ของอักษราเคยบ่นว่า มันชอบหนีเที่ยว คงจะเข้าไปในบ้านคนอื่นในละเวกนั้น แมวที่เข้าไปเร่ร่อนในบ้านคนอื่นนั้นคงทำความรำคาญให้เจ้าของบ้านอยู่ไม่ น้อย ไล่มันแล้วเจ้าเหมียวก็ไม่ค่อยยอมจะไป อาจจะต้องจัดการขั้นเด็ดขาด คือปิดประตูไล่ตีให้มันเข็ดหลาบ จะได้ไม่กล้าเข้ามาในบ้านอีก                        
ความหมาย :  รังแกหรือทำร้ายคนที่ไม่มีทางสู้และไม่มีทางหนีรอดไปได้                      

****************************************************************
  >>>ส่วนสำนวนนี้ ซื่อเหมือนแมวนอนหวด                                            

ที่มา : คงรู้จักภาชนะที่เรียกว่า หวดที่ใช้สำหรับนึ่งข้าวเหนียวของชาวอีสาน สำนวนนี้เกิดจากอาการของแมวที่ลงไปนอนในหวดนึ่งข้าวเหนียวซึ่งมีลักษณะโค้ง งอ เวลาแมวลงไปนอนในหวดแล้วแมวต้องนอนงอตัวให้โค้งไปตามรูปร่างของหวด มองดูเผินๆ เหมือนว่าแมวนอนสบาย แต่จริงๆ แล้วแมวนอนในหวดอย่างลำบาก แต่แกล้งทำให้ดูเหมือนว่านอนสบาย                 
ความหมาย : แกล้ง ทำเป็นซื่อ จริงใจ แต่จริงๆ แล้วไม่ได้ซื่อใช้เปรียบเปรยประชดประชันคนที่แกล้งทำเป็นคนซื่อตรง แต่ความจริงแล้วไม่ได้ซื่อเหมือนอย่างที่มองเห็นเลย ใครมีลักษณะแบบนี้คงคบหาสมาคมด้วยไม่ได้ เพราะขาดความจริงใจ


***************************************************************
 >>>อีกสำนวนหนึ่งคือ สำนวน ฝากเนื้อไว้กับเสือ ฝากปลา (ย่าง) ไว้กับแมว 
ที่มา : ก็ แหมไปฝากของชอบไว้กับผู้ที่ชอบสิ่งนั้นแล้วจะไปเหลืออะไร เนื้อสัตว์ทุกชนิดเป็นของชอบของเสืออยู่แล้ว ส่วนปลา (ย่าง) ก็ของชอบของเจ้าแมวเหมียว ฝากแล้วจะไปเอาคืนน่ะเหรอ เสือก็กินเนื้อหมดแล้ว แมวก็กินปลา (ย่าง) หมดแล้วเหมือนกัน                                
ความหมาย : สำนวน นี้ใช้ในโอกาสที่ฝากสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้กับผู้ที่ชอบสิ่งนั้น แน่นอนว่าย่อมสูญหายไม่ได้คืน จึงเตือนใจไว้ว่า ไม่ควรฝากไว้เป็นอันขาด   
    

******************************************************************

  >>>ปิดท้ายสำนวนไทยที่เกี่ยวกับแมวกับสำนวน หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว 
ที่มา : แมว นั้นชอบกินปลาอยู่แล้ว แม้เจ้าของจะให้กินปลาจนอิ่มแล้วก็ตาม แต่ถ้าเผลอมันก็แอบขโมยปลากินอีก และถ้าเจ้าของแกล้งเอาปลาย่างหรือปิ้งประชดให้มันกินอีก เพราะคิดว่ามันจะอายหรือกระดากใจไม่กล้ากินแต่มันก็กินจนหมดอีกนั่นล่ะ    
ความหมาย : ทำ อะไรหรือทำสิ่งใดเป็นการประชดประชัน ทำกระทบกระแทกแดกดัน มีแต่จะเสียประโยชน์เปล่าๆ เพราะคนที่เราแกล้งประชดประชัน เขาไม่สนใจไม่รู้เรื่องที่เราทำประชดเขาหรอก


*****************************************************************

 >>> ปลาใหญ่กินปลาเล็ก             

ที่มา :
ถ้าอธิบายแบบวิทยาศาสตร์ก็ต้องบอกว่า เป็นวงจรชีวิตของสัตว์ทั่วไปที่ปลาตัวใหญ่ย่อมต้องกินปลาตัวเล็กเป็นอาหาร เพื่อความอยู่รอด แต่ถ้ามาเป็นสำนวนเปรียบเทียบกับคนแล้วกลับกลายเป็นการแสดงความเอาเปรียบข่ม เหงรังแก คนที่ตัวใหญ่กว่าชอบข่มแหงรังแกคนที่ตัวเล็กกว่า                  
ความหมาย : คนที่มีอำนาจหรือผู้ใหญ่ที่ชอบข่มแหงหรือรังแกผู้น้อยหรือผู้ที่อ่อนแอกว่า


*****************************************************************

 >>>ต่อมาอีกสำนวน คือ ปลาหมอตายเพราะปาก        

ที่มา :สำนวน นี้มาจากธรรมชาติของปลาที่ชอบผุดจากน้ำขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำ ปลาหมอเป็นปลาที่คนนิยมกินเพราะขนาดตัวกำลังดี และที่สำคัญปลาหมอชอบผุดขึ้นมาเล่นน้ำอย่างชุกชุมในบริเวณที่คนสังเกตเห็น ได้ ก็เลยไม่ต้องเสียเวลามาก หย่อนเบ็ดที่ปลาหมอชอบผุดขึ้นมา ก็ได้ปลาหมอมาทำอาหารอย่างแน่นอน
ความหมาย : สำนวน ปลาหมอตายเพราะปากนี้ จึงใช้เปรียบกับคนที่พูดมาก อาจตายเพราะปากได้ หรือ หมายถึง คนที่ชอบพูดพล่อยๆ จนตัวเองได้รับความเดือดร้อน    
        

*********************************************************************
  >>>ส่วนสำนวน งูๆ ปลาๆ                      

ที่มา :อาจ จะเกิดจากลักษณะของงูกับปลาไหลที่มีลำตัวยาวๆ คล้ายกัน คนที่ไม่สังเกตก็อาจจะแยกความแตกต่างของงูกับปลาไหลไม่ค่อยได้หรืออาจจะแค่ แยกได้ว่าตัวนี้เป็นงูตัวนี้เป็นปลาไหลเท่านั้นเอง จึงเรียกว่ารู้แบบงูๆ ปลาๆ รู้นิดหน่อยเท่านั้นเอง
ความหมาย : มีความรู้เพียงเล็กน้อยหรือรู้ไม่จริงจะทำสิ่งใดทำอะไรก็ทำได้ไม่ดีเท่าไหร่
                 

*********************************************************************

 >>>สำหรับสำนวน จับปลาสองมือ 
ที่มา : สำนวนนี้มาจากการจับปลาที่หมายถึงการใช้มือทั้งสองข้างจับปลาตัวเดียวซึ่งจะ จับได้แน่น ปลาก็ไม่สามารถดิ้นหลุดไปได้ แต่จับปลาสองมือ สำนวนนี้ หมายถึง ใช้มือขวาจับปลาหนึ่งตัวและใช้มือซ้ายจับปลาอีกหนึ่งตัว อาจจะเป็นเพราะความโลภที่อยากได้ปลาสองตัวพร้อมๆ กัน ท้ายที่สุดปลาก็ดิ้นหลุดมือไปทั้งสองตัว                     
ความหมาย : การ ทำงานสองอย่างในเวลาเดียวกัน อาจจะได้ผลไม่เต็มที่หรือออาจจะไม่ได้ผลเลย มักใช้ตำหนิคนที่จับงานโน้นทีจับงานนี้ที อาจเกิดความเสียหายกับงานได้ไม่มีงานใหนสำเร็จซักงานเดียว


*********************************************************************
>>>ปิดท้ายสำนวนไทยที่เกี่ยวกับปลา เกลียดตัวกินไข่เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง             

ที่มา : มา จากบางคนที่ไม่ยอมกินปลาไหลเพราะเกลียดที่ปลาไหลมีลักษณะเหมือนงู แต่ถ้าเอาปลาไหลมาแกงก็สามารถตักน้ำแกงมาซดกินได้หน้าตาเฉย เพราะน้ำแกงจากปลาไหลนั้นรสชาติอร่อยแม้จะไม่ชอบตัวปลาไหลแต่ก็กินน้ำแกงปลา ไหลได้                 
ความหมาย : สำนวน นี้ใช้ในกรณี ที่เกลียดหรือไม่ชอบสิ่งใด แต่ก็ยังไปเกี่ยวข้องกับสิ่งนั้น เพราะตัดไม่ขาดจริงเหมื่อนเกลียดปลาไหลแต่ก็ยังอดไม่ได้ที่จะซดน้ำแกงจากปลา ไหล     
              

**************************************************************** 






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
Blogger Templates